วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ นางสาว นิด นามสกุล ก้อนแก้ว
รหัส 571161028 คณะ ครุศาสตร์ วิชาเอก วิทยาศาสตร์
ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา GEN1102 Section AD 

เทคโนโลยีกับการศึกษา

เทคโนโลยีกับการศึกษาในปัจจุบัน


         ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้มีความพยายามในการปฏิรูประบบการศึกษาของชาติ โดยเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน จากเอกสารเผยแพร่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติโดยศาสตราจารย์ ดร.เกษม วัฒนชัย ท่านองคมนตรี ได้กล่าวไว้โดยสรุปว่า " การปฏิรูปการศึกษามิไช่กำลังเกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะประเทศต่าง ๆ ล้วนตระหนักดีว่า ความเข้มแข็งและความมั่นคงของประเทศ มาจากการพัฒนาศักยภาพคนในชาติ และจะพัฒนาคนจะต้องอาศัยระบบการศึกษาที่ครอบคลุม เข้มแข็ง มีคุณภาพ และโดยประชาชนมีส่วนร่วม "นอกจากนี้แล้วในเอกสารการปฏิรูปการศึกษาไทย ฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง ความรู้และเทคโนโลยี กล่าวคือ มนุษย์สร้างความรู้จากประสบการณ์ตรง และจากการลองถูกลองผิด ทั้งนี้ โดยปัจเจกบุคคล โดยกลุ่ม หรือโดยชุมชนจนเกิดเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งฝ่ายตะวันตกและ ฝ่ายตะวันออก โดยมนุษย์ได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยปรากฏการณ์ หรือประสบการณ์ หรือพื้นความรู้เดิมจนเกิดเป็นศาสตร์สาขาต่าง ๆ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ทําให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางตะวันตกได้รับการ พิสูจน์วิจัยจนกลายเป็นศาสตร์สากล แพร่หลายและยอมรับกันทั่วไป หากชาวตะวันออกจะได้นํากระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์วิจัยภูมิปัญญาท้อง ถิ่นฝ่ายตน ก็เชื่อว่าจะเกิดศาสตร์ความรู้เชิงสากลได้เช่นเดียวกัน ดังที่ได้กระทํามาบ้างแล้วในบางประเทศ มนุษย์นําความรู้มาใช้งานเทคโนโลยี คือวิธีหรือรูปแบบของการประยุกต์ความรู้เพื่อนํามาทํางานให้มนุษย์ หากต้องการจะเพิ่มพูนความรู้ใหม่ในสังคม สังคมนั้นก็ต้องจัดการศึกษาและฝึกอบรมให้ “ทุนความรู้” มีมากที่สุด เท่าที่จะทําได้ เมื่อทุนความรู้มีมาก โอกาสที่คนในสังคม คนในชาตินั้นจะสร้าง “ความรู้ใหม่” ก็มีมากขึ้นตามไปด้วยส่วนการสร้างเทคโนโลยีต้องอาศัยฐานความรู้ที่มากและรอบ ด้าน รวมทั้งต้องทําให้คนในสังคม “คิดเป็น” คือมีจินตนาการและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อเป็นเช่นนี้จะทําให้คนในสังคมยิ่งรู้วิธีประยุกต์ความรู้ คือ พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ สร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลายระบบการศึกษาจึงจําเป็นต้องวางแผน เพื่อให้โอกาสและเพื่อลงทุนทางการศึกษาให้กว้างขวางที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ “เรียนรู้และคิดเป็น” และในที่สุดต้องเน้นการอบรมทางศาสนาและศีลธรรม เพื่อให้เขา “มีคุณธรรมและคิดดี” ด้วย เป้าหมายของการแสวงหา สรรค์สร้าง และเผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยี จึงเป็นไปเพื่อ
(1) เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
(2) ประโยชน์และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
(3) อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
ภาย ใต้อิทธิพลและผลกระทบของกระแสโลกาภิวัฒน์และระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ไปทั่วโลกการคมนาคมและการสื่อสารโดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาจนถึงขั้นที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีเรียน รู้และวิถีดํารงชีวิตของประชาชน ในหลายประเทศ และขณะนี้กําลังเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในอีกหลาย ๆ ประเทศ ระบบการศึกษาไทยต้องปรับตัวอย่างมาก เพื่อรับภาระในการใช้ระบบสารสนเทศ เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังชนบทและไปยังผู้ด้อยโอกาสในปัจจุบันอย่าง เร่งด่วน ประเทศไทยได้ผ่านการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่มาแล้ว โดยพระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดการปฏิรูปในครั้งนั้นมีทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในประเทศ รวมทั้งสายพระเนตรอันยาวไกลของพระองค์ท่าน

          ดร.สงบ ลักษณะ กล่าวว่า ในภาวะปัจจุบัน ประเทศเรากําลังอยู่ในช่วงของการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งภายนอกและภายในประเทศ และทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (
Information and Communication Technology : ICT) เพราะในปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เป็นไปอย่างรวดเร็วทางบวกและทางลบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคล อย่างรุนแรง บุคคลจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง ให้มีความรู้ ความคิด และทักษะชีวิตให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เกิดจนตาย โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา โดยทุกประเทศต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society
สินีนาถ ชาตะกาญจน์ กล่าวว่า ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร และจัดการเทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอนจะเห็นได้ว่าในการจัดการ ศึกษาในปัจจุบันนั้นจะมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา จนในปัจจุบันนี้ระบบงานสื่อและเทคโนโลยี ทางการศึกษาถือเป็นส่วนหนึ่งของของระบบการศึกษา
         นิคม พวงรัตน์ กล่าวว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแสวงหาความ รู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าเทคโนโลยี สื่อสารมวลชนเทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต สำหรับทุกคนปัจจุบันได้มีความพยายามจัดระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อ การเรียนการสอนที่เรียกว่า “อีเลิร์นนิ่ง” (
e-learning) ซึ่งเป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรมซึ่งใช้นำเสนอ ด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอด การจัดการเรียน รู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ ที่มีการนำเสนอแบบสื่อประสม (Multimedia) จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่าง ๆ เช่น ซีดีรอม (CD –ROM) โทรทัศน์ หรือเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย สำหรับทุกคนที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all ;3A: Anyone , Anywhere and Anytime ) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(
e-learning) นั้นเป็นการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน ทุกสถานที่งานกลายเป็นการเรียน การเรียนกลายเป็นงาน และไม่มีใครเลยที่เคยเรียนจบ ความสามารถในการปฏิบัติงาน คือ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ก็คือ เพื่อให้มีความสามารถในเวลาที่น้อยที่สุด ด้วยการอบรมน้อยครั้งที่สุดไม่ใช่มากที่สุด
         เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ( 2544 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า อีเลิร์นนิ่ง (
e – Learning ) คือการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเลิร์นนิ่ง หมายถึง การเรียนรู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology based learning) ซึ่งครองคลุมวิธีการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การเรียนรู้คอมพิวเตอร์ (computer-bsed learning) ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) และความร่วมมือดิจิตอล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทุกประเภท อาทิ อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต การถ่ายทอด ผ่านดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีรอม
          สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ (
http://www.thai2learn.com/, 2547) ได้ให้คำจำกัดความของ e-Learning ไว้ว่า การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-learning คือ การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน web Brower โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น ระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคนเรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all: anyone, anywhere and anytime)

บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารการศึกษา




       วิทยา การก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างพลโลก อย่างไร้พรหมแดน (
Globalization) อย่างรวดเร็วนำไปสู่การผสมผสานความคิด ค่านิยม ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างมวลมนุษย์ชาติ ที่เรียกว่า “กระแสโลกาภิวัฒน์” เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ เกิดการแข่งขันในด้านข้อมูลข่าวสาร ด้วยการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อมุ่ง เป้าหมายความเป็นเศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-basedEconomy/Society) ประเทศไทยในฐานะที่อยู่ร่วมในสังคมโลก ทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสของโลกาภิวัฒน์ที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว จึงได้กำหนดแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์(e-Commerce) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
(
e-Industry) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education) และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
การ ศึกษาในฐานะกลไกพื้นฐานของการพัฒนาคน เป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าจะเป็นเครื่องเตรียมคนและสังคมให้พร้อมรับความ เปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ จึงเป็นการเตรียมกำลังคนที่มีความฉลาดในการที่จะเป็นบุคลากร นักคิดและนักเลือกข่าวสารข้อมูลมาใช้ในการดำเนินชีวิต การวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา จึงต้องเน้น การวางแผนในเชิงรุก โดยวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มของกระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในสังคมไทย และวิเคราะห์สถานการณ์การพัฒนาประเทศไทยโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพื่อหาทิศทางการพัฒนา “ คุณภาพคนไทย” อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้รู้ทันโลกคนมีความสุข ครอบครัวและชุมชนมีสันติสุข
การ จัดการศึกษาในปัจจุบัน จึงได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้เพื่อเพิ่มทางเลือกในการเรียน รู้ของผู้เรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคโลกาภิวัฒน์ ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลและข่าวสาร รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล มากขึ้น กระบวนการเรียนการสอนเปลี่ยนบทบาทของครูจากการเป็นผู้ให้ ผู้ถ่ายทอด มาเป็นผู้ออกแบบการศึกษา เพื่อพัฒนาคนที่มีความแตกต่างกัน วิถีทางการเรียนรู้เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการใช้ “ เทคโนโลยีเข้มข้น” ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทยเราเองเริ่มมีการนำนวัตกรรมใหม่ทางการ เรียนการสอนเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยี “ อินเทอร์เน็ต” ได้มีการเห็นความสำคัญในการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐาน (
Infrastructure) ทางด้านการสื่อสาร และกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนเพื่อให้หน่วยงานทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะสถาบัน อุดมศึกษาได้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลต่อเชื่อมอยู่ทั่วทุกมุมโลก อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบ ด้วยเครือข่ายย่อยจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสื่อสารที่ใหญ่มากจนสามารถตอบสนองความ ต้องการในการค้นคว้าข้อมูลได้เป็นอย่างดี (วิทยา เรืองพรพิสุทธ์. 2538 : 2) ทำให้เกิดความต้องการในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งทรัพยากรเรียน รู้สำหรับผู้เรียน เช่น การจัดระบบห้องสมุด การบริหารงานของฝ่ายธุรการ การค้นคว้าข้อมูล การเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรข้อมูลข้อสนเทศต่างๆ อย่างเป็นประโยชน์สูงสุด ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วยเทคโนโลยีที่ ทันสมัยและเป็นมาตรฐาน ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของการให้บริการข้อมูลที่สะดวกและรวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูล และระบบสานสนเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นฐานสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาการศึกษา (Computer Time. 2538 : 18)
ประเทศไทย มีการศึกษาเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในด้านการศึกษาดัง เช่นการศึกษาของ ทิพวรรณ รัตนวงศ์ (2532) ได้ศึกษาแนวโน้มหลักสูตรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในปี พ.ศ.2545 พบว่าการอุดมศึกษาในอนาคตเทคโนโลยีทางการศึกษาจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การเรียนการสอนไม่จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนและภายในสถาบันการศึกษาอีกต่อไป และเรวดี คงสุภาพกุล (2538) ได้ศึกษาการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตของนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า สาขาวิชาที่ศึกษามีความสัมพันธ์กับความบ่อยในการใช้ นิสิต นักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ใช้ระบบมากกว่านิสิตนักศึกษาสาขา วิทยาศาสตร์ และเป็นการใช้ตามสาขาวิชาที่ศึกษา คือ นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์มีความสัมพันธ์ด้วยกัน จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน จึงใช้ระบบในการคุยกับเพื่อน ในขณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์ จะใช้ในงานบริการค้นคว้างานวิจัยค้นคว้าข้อมูลวิชาการ นิสิตนักศึกษามองเป็นอุปสรรคในการใช้ระบบ คือตัวปัญหาของระบบ เนื่องจากระบบมีการใช้งานในความเร็วต่ำ เมื่อมีการใช้พร้อมๆ กันก็จะเกิดการติดขัดต้องมีระบบช่วยแก้ปัญหา ในปัจจุบันได้มีความพยายามจัดสภาพแวดล้อมทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อ การเรียนการสอนที่เรียกว่า “อีเลิร์นนิ่ง” (e-learning) ซึ่งเป็นการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้นำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ มีการจัดให้มีเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น e-mail, Webboard สำหรับตั้งคำถาม หรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับวิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบ หลังจากเรียนจบ เพื่อวัดผลการเรียน รวมทั้งการจัดให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการเรียน โดยผู้เรียนส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับ ประเทศไทยแม้ว่าจะยังไม่มีการเปิดการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) เต็มหลักสูตร แต่ก็ได้เริ่มนำแนวคิดดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้กำหนดเป็นนโยบายในระบบการศึกษาไร้พรมแดน แผน มทส.(วิจิตร ศรีสอ้าน. 2541) ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินโดยเริ่มสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่ได้ดำเนินการสอนแบบเต็มหลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชก็ได้จัดทำโครงการศึกษาทางไกลผ่านวิทยาเขต เสมือนจริง (Virtual University) โดยมีเป้าหมายที่จะทดลองใช้กับนักศึกษาปริญญาโทบางหลักสูตรในปีการศึกษา 2543 และจะขยายใช้กับนักศึกษาปริญญาโททั้งหมด ในระยะต่อไป รวมทั้งการเปิดสอนระดับปริญญาตรีบางหลักสูตรด้วย (มหาวิทยาสุโขทัยธรรมธิราช. 2541) แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้เป็นการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบางรายวิชา การเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆ ของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เช่น ปัญหาด้านสถานที่เรียนในมหาวิทยาลัยไม่เพียงพอความต้องการของผู้สมัครเรียน ทำให้ต้องจำกัดจำนวน ในการรับเข้าเรียน แต่การเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง นักศึกษาไม่ต้องใช้สถานที่เรียนในมหาวิทยาลัย แต่เรียนจากที่บ้านหรือที่ทำงานจึงสามารถรับนักศึกษาได้เป็นจำนวนมาก และรับได้กระจายทั่วไปจึงช่วยลดปัญหาด้านการกระจุกตัวของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งรวมกันอยู่ในเมืองใหญ่ในตัวเมือง ทำให้นักศึกษาที่อยู่ในชนบทไม่สะดวกในการเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัยและ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก แต่นักศึกษาที่เรียนผ่านระบบการการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ไม่ต้องเดินทางไปรวมกันที่มหาวิทยาลัย จึงบรรเทาปัญหาการเดินทางไปได้มาก และยังแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านเวลาที่มหาวิทยาลัยปกติจะต้องเรียนในเวลาเดียว กันตามที่กำหนด ไม่สามารถสับเปลี่ยนหรือเลื่อนได้ แต่ในการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในเวลาที่สะดวกได้ซึ่งมีความยืดหยุ่นทางด้านเวลา สูง นอกจากนั้นการมีโอกาสได้ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี เมื่อออกไปทำงานจะสามารถทำงานได้ทันที ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว นักการศึกษาจึงมีความพยายามที่จะจัดระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ที่เหมาะสมกับการศึกษายุคปัจจุบัน

สรุป
         เทคโนโลยี การศึกษา หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดความรู้ ทักษะ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้ได้มากที่สุด และเพื่อประหยัดและปลอดภัยที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้อาจจะเป็น คอมพิวเตอร์ รายการวิทยุกระจายเสียง สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตำรา ฯลฯ และที่สำคัญที่สุดเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ เทคโนโลยีการศึกษาเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนาการใช้การจัดการ และประเมินผลของกระบวนการ แหล่งเรียนรู้ สำหรับการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพมากที่สุดจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยี และการสื่อสารที่ทันสมัย ข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ สามารถส่งถึงกันได้      อย่าง แพร่หลายและรวดเร็ว การจัดการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต จึงเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน และรัฐต้องนำเอาเทคโนโลยี และสื่อสารใหม่มาพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาให้กว้างขวาง อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยี สามารถจัดได้ ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง ถ้าสถานศึกษามีงบประมาณสามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ส่วนการที่จะสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีได้นั้นก็ไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ
Information หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ แล้วจะทำให้ขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมายไม่มีประโยชน์
จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องการบอกว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีนั้นในสมัยปัจจุบันนั้นมี ความสำคัญมาก โดยเฉพาะครูที่ต้องนำไปใช้กับผู้เรียนเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการสอนจากที่ให้ เด็กท่องจำเพียงอย่างเดียวมาเป็นการให้ได้เรียนรู้ พัฒนาความคิดด้วยตนเอง ไม่เกิดความเบื่อหน่าย น่าสนใจ และเพื่อสนองความเจริญงอกงามของผู้เรียน เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเข้าสังคมในยุคปัจจุบัน และสิ่งสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีผู้สอนจะต้องบอกถึง ประโยชน์และโทษของสื่อเทคโนโลยีด้วยเพื่อที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตนได้ถูก ต้อง และสามารถนำความรู้ความสารถมาใช้ในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง


เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์

เทคโนโลยีทางสุขภาพและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์


๑.เทคโนโลยีทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน
              เทคโนโลยีทางสุขภาพหมายถึง การรวบรวมความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพใน การดูแล การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายทั้งนี้เพื่อให้บุคคลหรือชุมชนมีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัยในชีวิต ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีความสำคัญต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก
              ๑.๑คุณค่าของเทคโนโลยีทางสุขภาพ
เทคโนโลยีทางสุขภาพมีคุณค่าต่อวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลในภาพรวม ดังนี้
                   ๑.ด้านคุณภาพชีวิต  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนั้น ช่วยให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่สะดวกสบาย
                   ๒.ด้านประสิทธิภาพของงาน  การนำเทคโนโลยีทางสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย
                   ๓.ด้านประสิทธิผลของผลผลิต  เทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่วยให้การศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยของนักวิชาการทางสุขภาพในหลากหลายสาขาวิชา สามารถสร้างผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว
                   ๔.ด้านความประหยัด  การใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ ช่วยประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการทำงาน รวมถึงช่วยให้บุคคลสามารถใช้เวลาในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว
              ๑.๒ ประเภทของเทคโนโลยีทางสุขภาพ
                   ๑.เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ  เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยสามารถแบ่งออกได้ ๕ ประเภท ดั้งนี้
                   ๑.๑เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
                   ๑.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร
                   ๑.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยา
                   ๑.๔เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องมือแพทย์
                   ๑.๕เทคโนโลยีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือสุขภาพ
              ๒.เทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการสุขภาพ เป็นเทคโนโลยีเพื่อการให้บริการสุขภาพ
ซึ่งแบ่งออกได้ ๓ ประเภท ดังนี้
                   ๒.๑ เทคโนโลยีเกี่ยวกับการตรวจและรักษาโรค
                   ๒.๒เทคโนโลยีเกี่ยวกับการป้องกันโรค
                   ๒.๓เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
              ๓.เทคโนโลยีเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๑เทคโนโลยีการพิมพ์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๒เทคโนโลยีคมนาคมเกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
                   ๓.๓เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับข่าวสารสุขภาพ
๒.ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นประเด็นทางสุขภาพ
              ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางสุขภาพได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนเราอย่างมาก โดยจะขอยกตัวอย่างของเทคโนโลยีที่เป็นทางสุขภาพมานำเสนอเป็นบางประเด็น ดังนี้
              ๒.๑ผลิตภัณฑ์
GMOs
                  
ในร่างกายของคนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืช สัตว์ และจุลินทีรย์นั้น มีหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ เช่น ทำให้มีตาสีฟ้า ตาสีดำ เป็นต้น
ซึ่งหน่วยพันธุกรรมดังกล่าวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยีน(
gene)  โดยยีนมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ DNA
             
๑.ประโยชน์ของ GMOs
ประโยชน์ของการตัดต่อพันธุกรรมมีหลายประการ ดังนี้
              ๑.ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีความสามารถในการต้านแมลงและโรคได้ดีขึ้น
              ๒.ช่วยในการพัฒนาพันธุ์พืชให้มีคุณภาพผลผลิตที่พึ่งประสงค์
              ๓.นำไปใช้ในการพัฒนาพันธุ์สัตว์
              ๔.นำไปใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มีคุณสมบัติพิเศษ
              ๒.ข้อควรระวังเกี่ยวกับ
GMOs  เทคโนโลยีทุกอย่างนั้น เมื่อมีประโยชน์ก็มักจะมีโทษด้วยเสมอ พันธุวิศวกรรมที่นำมาใช้ตกแต่งสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็เช่นกันอาจมีผลกระทบทางลบด้วยหากกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง
              ๓.การควบคุมผลิตภัณฑ์
GMOs ดังนี้
                   ๑.ให้มีการจดทะเบียน
                   ๒.การปล่อย
GMOs เข้าสู่สิ่งแวดล้อม
                   ๓.การกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
                   ๔.การทำการตลาดผลิตภัณฑ์จาก
GMOs ที่ใช้เป็นอาหารต้องผ่านการดูแล
              ๒.๒คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
                   สังคมไทยในสมัยปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
แนวทางการป้องกันกลุ่มเสี่ยง
              ๑.ให้ความเอาใจใส่
              ๒.แบ่งเวลาสำหรับพูดคุยกันในแต่ละวัน
              ๓.ให้คำแนะนำด้วยความเข้าอกเข้าใจ แสดงออกถึงความห่วงใย
              ๔.สอดแทรกความรู้ถึงผลกระทบจากการใช้
              ๕.กระตุ้นให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมภายในครอบครัวมากขึ้น
              ๖.ส่งเสริมให้เด็กมีงานอดิเรกทำ
              ๗.ศึกษาวิธีการใช้สื่อต่างๆที่ปลอดภัยและเหมาะสม
๓.ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
              จากความเจริญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวหน้ามา ตามลำดับ ซึ่งช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิตได้สุขสบายมากขึ้น เดินทางและสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว มีเครื่องมือทันสมัยต่างๆ ใช้อำนวยความสะดวกแต่ขณะเดียวกันเราก็อยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพเสื่อมโทรมลงก่อให้เกิดมลพิษ ดังนี้
              ๑.มลพิษทางอากาศ
              ๒.ปัญหาขยะมูลฝอย
              ๓.ภาวะมลพิษทางดิน
              ๔.ปัญหามลพิษทางน้ำ
๔.การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ
              ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีทางสุขภาพจะมีคุณค่าในการช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็ตาม แต่หากมนุษย์ไม่รู้จักตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพให้เหมาะสมและถูกต้อง อันตรายหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพก็อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น การตัดสินใจเลือกรับและใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ จึงควรมีหลัก ดังนี้
              ๑.ศึกษาข้อมูลของเทคโนโลยีทางสุขภาพต่างๆ
              ๒.ปฏิบัติตามขั้นตอนในการใช้อย่างถูกต้อง
              ๓.คำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการนำเทคโนโลยีทางสุขภาพไปใช้
              ๔.พิจารณาถึงคุณภาพของการผลิตและการนำไปใช้งาน
              ๕.คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ
              ๖.พิจารณาถึงราคา ค่าใช้จ่าย
              ๗.เทคโนโลยีนั้น ควรมีความสะดวกและวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป
              ๘.ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางสุขภาพด้วยความระมัดระวัง
              ๙.ควรคำนึงถึงคุณธรรมและความถูกต้องเหมาะสมในการใช้
๕.ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่มีผลต่อสุขภาพ
              วิวัฒนาการทางการแพทย์ของไทยนั้น มีการพัฒนามาตามลำดับ นับจากการใช้การแพทย์แผนไทยหรือการแพทย์แผนโบราณมาตั้งแต่สมัยอดีตในสมัยสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและเมื่อมีการเริ่มติดต่อกับชาติตะวันตก ก็ได้มีการนำการแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย
              ๕.๑ระบบการแพทย์ของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในประเทศไทยปัจจุบันนั้น เมื่อกล่าวถึงระบบการแพทย์ จะมีการจำแนกออกได้เป็น ๓ ประเภทคือ การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์กระแสหลัก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการแพทย์ทางเลือก
              ๕.๒หลักในการพิจารณาเลือกใช้บริการทางการแพทย์ที่เหมาะสม
จากการจำแนกประเภทของบริการทางการแพทย์และสุขภาพที่พบในประเทศไทยออกเป็น
๓ ประเภทดังกล่าวข้างต้นนั้น พบว่ามีผลกระทบต่อรูปแบบของการเลือกใช้บริการและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยรวม  การแพทย์ควรยึดหลักสำคัญ ๔ ประการดังนี้
              ๑.หลักของความน่าเชื่อถือ
              ๒.หลักของความปลอดภัย
              ๓.หลักของการมีประสิทธิผล
              ๔.หลักของความคุ้มค่า



เทคโนโลยีกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาระสำคัญ
         สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการดำรงอยู่ของมนุษย์ พืชและสัตร์มนุษญ์ได้สร้างเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับลิ่งแวดล้อมเพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตของมุนษย์ ความจริงก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของมนุษย์


บทบาทของสิ่งแวดล้อมต่อการสร้างเทคโนโลยี
       ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของสารชนิดต่างๆในแหล่งน้ำ ดิน อากาศ นอกจากจะส่งผลกระทบทำให้สภาพแวดล้อมมีคุณภาพเสื่อมโทรมลงแล้ว ยังได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมบริเวณดังกล่าวอีกด้วย การแก้ไขและ/หรือการป้องกันการปนเปื้อนของสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้จากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆหลายสาขา เช่น นักเคมี นักชีววิทยา นักจุลชีววิทยา วิศวกร เพื่อนำความรู้และเทคโนโลยีมาผสมผสานและประยุกต์ใช้เพื่อการกำจัดหรือลดปริมาณการปนเปื้อนสารต่างๆในสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทั้งวิธีทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพ นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันและการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อเนื่องถึงอนาคต การเลือกใช้เทคโนโลยีการฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ย่อมส่งผลให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง บทบาทของเทคโนโลยีต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการสร้างและพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในลักษณะของการบูรณาการความรู้ ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญจากศาสตร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาและสนับสนุนการเรียนการสอน การฝึกอบรม และการบริการทางวิชาการ ที่เน้นถึงการนำความรู้และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์จริง การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและเอกชนรวมทั้งการขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการไปยังหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย เพื่อศึกษาและทำวิจัยร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้คืนสู่สภาพสมดุล และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลกกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ
1.การลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศ
         โอโซนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์สูงจากพื้นผิวโลก ขึ้นไป 12- 50 กิโลเมตร เมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านมายังผิวโลก รังสีบางส่วนจะเป็น รังสีคลื่นสั้นหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจะถูกโอโซนดูดกลืนไว้ และบางส่วนถูกสะท้อนกลับหรือกระจายไปในบรรยากาศโอโซนจึงทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้รังสีอัลตราไวโอเลต ส่องผ่านลงมาบนผิวโลก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อพืชและสัตว์ได้หากปราศจากโอโซนแล้วสิ่งมีชีวิตบนโลกจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ โอโซนประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอมซึ่งเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตที่ช่วงคลื่น 180-240 นาโนเมตร เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้โมเลกุลของออกซิเจน แตกออกเป็นอะตอมออกซิเจน แล้วไปรวมตัวกับโมเลกุลของออกซิเจนได้เป็น โอโซน สาเหตุที่ทำให้ปริมาณโอโซนในบรรยากาศลดลง มาจากสารเคมีที่มนุษย์ผลิตขึ้น คือ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (
chlorofluorocarbons : CFCs ) หรือสาร CFC เป็นตัวทำลายโอโซน เป็นสารซึ่งอยู่ในตู้เย็น ใช้ทำโฟม และพลาสติกบางชนิด และใช้เป็นสารขับดันในกระป๋องสเปรย์ สารซีเอฟซีไม่ละลายน้ำ น้ำฝนจึงไม่สามารถชะล้างลงสู่ดินได้ สารซีเอฟซี จึงสามารถอยู่ในบรรยากาศได้เป็นเวลานาน และใช้เวลา 8-12 ปี เคลื่อนขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอโซน

2.มลพิษจากฝนกรด
        ฝนกรด คือ น้ำฝนที่รวมตัวกันกับแก๊สออกไซด์ของ
vโลหะบางชนิดในอากาศ เกิดเป็นสารละลายที่มีสมบัติเป็นกรด และมีความเป็นกรดอยู่ในช่วง pH = 3-5  สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

ผลกระทบของฝนกรด

1.ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่น ผลผลิตของพืชน้อยกว่า ปกติ
2.ฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยวจุลินทรีย์หลายชนิดในดินที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชถูกทำลาย ซึ่งจะมีผลกระทบในแง่การย่อยสลาย ในดินและการเจริญเติบโตของพืช
3.ฝนกรดสามารถทำปฏิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น แคลเซียม, ไนเตรต,แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารเหล่านี้ไปใช้ได้
4.แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศทำให้ปากใบปิดซึ่งจะมีผลกระทบต่อการหายใจของพืช
5.ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำยังมีผลกระทบด้านระบบนิเวศ ที่อยู่อาศัยรวมถึงการดำรงชีวิตอีกด้วย
6.ฝนกรดสามารถละลาย
calcium carbonateในหินทำให้เกิดการสึกกร่อน เช่น พิรามิดในประเทศอียิปต์และ ทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย เป็นต้นนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กัดกร่อนทำลาย พวกโลหะทำให้เกิดสนิมเร็วขึ้นอีกด้วย
7.ฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ เช่น เหล็กเป็นสนิม เร็วขึ้น สังกะสีมุงหลังคา ที่ใกล้ๆ โรงงานจะผุกร่อนเร็ว สังเกตได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนซีเมนต์หมดอายุเร็วขึ้น ผุกร่อนเร็วขึ้น เป็นต้น
8.ฝนกรดจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้ง มีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ไปได้เพราะฝนกรดที่เกิดจากแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกิดจากแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ จะทำให้น้ำในแม่น้ำทะเลสาบ มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น ถ้าเกิดอย่างรุนแรงจะทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวตาย

3.ปรากฎการณ์เรือนกระจก
       ปรากฏการณ์เรือนกระจก (
greenhouse effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อน

ผลกระทบจากปรากฎการณ์เรือนกระจก

1) ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ
สภาวะโลกร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นตลอดศตวรรษที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าสภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบถึงความดันบรรยากาศด้วย และการเปลี่ยนแปลงในความดันบรรยากาศนี้เองที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศโลก เพราะความดันอากาศจะควบคุมการไหลเวียนบรรยากาศ ดังนั้นจึงมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของความชื้น โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งผลกระทบต่อปริมาณของฝนที่ตก, อุณหภูมิ, ลม, และพายุ
2) ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ
เมื่อมีฝนตกหนักขึ้น จนเกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม ดินอันอุดมสมบูรณ์จะถูกพัดพาไปตามลำน้ำเกิดเป็นความขุ่นของสายน้ำ ที่เมื่อตกตะกอนจะสร้างความตื้นเขินให้แก่แหล่งน้ำ เมื่อสายน้ำขุ่นไหลออกสู่ชายฝั่งจะทำลายแนวปะการัง แหล่งอาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำ นอกจากนั้นแล้วตะกอนดินที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง ยังช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่ายตามชายฝั่ง เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลง จะเกิดการเน่าเสีย ที่ลดปริมาณออกซิเจนในน้ำจนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
(3) ผลกระทบต่อแหล่งพลังงาน
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อแหล่งพลังงาน เกิดขึ้นกับกิจกรรมขุดเจาะน้ำมันในมหาสมุทรที่อยู่ใต้อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดพายุหมุนที่รุนแรงย่อมเป็นอุปสรรคในการขุดเจาะน้ำมันในทะเลและมหาสมุทร วาตภัยอาจกระหน่ำแท่นขุดเจาะน้ำมันในทะเลจนอับปาง การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานลม ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศมากกว่าการผลิตพลังงานรูปแบบอื่นๆ โดยเฉพาะระดับน้ำที่ลดลงอย่างมากของเขื่อนในหน้าแล้ง ทำให้มีปริมาณน้ำไม่พอต่อการผลิตไฟฟ้า
(4) ผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลและที่อยู่อาศัยของมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าถ้าอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นอีก 0.3
OC จะทำให้กราเซียร์ (glacier) เกิดการละลายจนระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นอีก 100 เมตร การขยายตัวของมหาสมุทรทำให้เมืองที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลและที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ ที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก จะถูกน้ำท่วม จนมนุษย์ต้องมีการย้ายถิ่นฐานใหม่ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และสภาพสังคม(5) ผลกระทบต่อการเกษตรกรรมปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเร่งการเจริญเติบโตของพืช แต่ในบริเวณที่มีการจัดสรรน้ำในการชลประทานได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเกษตรกรรม อากาศที่ร้อนขึ้นจะเร่งการระเหยและการคายน้ำของพืช ทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวแห้งตาย ในขณะเดียวกัน อากาศร้อนยังเร่งการเจริญเติบโตของแมลงและจุลินทรีย์บางชนิดที่ทำลายพืช
(6) ผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาของโลก
ระดับน้ำทะเลที่สูงและอุ่นขึ้น ทำให้สัตว์และพืชต่างๆต้องปรับตัวอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด และถ้าปรับตัวไม่ได้ก็จะล้มตายลง เช่นในปี 1998 อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำทะเลได้ทำลายปะการังของโลกไป ร้อยละ 10 และส่งผลกระทบต่อการสืบพันธ์ของสัตว์และปลาน้ำเย็น นอกจากนั้นระดับน้ำที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดการสูญพันธ์ของกบ 50 ชนิดในป่าของคอสตาริก้า (
Coata Rica) ในมหาสมุทรอาร์คติกแมวน้ำและหมีขาว กำลังเผชิญชะตากรรมที่เลวร้ายจากช่วงฤดูหนาวที่สั้นลง ส่วนดินแดนในเขตมรสุม จะมีพายุฤดูร้อนเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น โดยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียของผลิตผลทางการเกษตรและมีการระบาดที่มากขึ้นของแมลงและเชื้อโรคหลายชนิด นอกจากนั้นการระบาดนี้ยังค่อยๆลามขึ้นไปในดินแดนทางขั้วโลกและที่สูงตามยอดเขาที่เคยหนาวเย็น
(7) การสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ที่ผิดปรกติบนผิวโลก
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าความผิดปกติในการสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ของโลกในฤดูกาลต่างๆ มีสาเหตุมาจากการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนชื้น และ การหายไปของน้ำแข็งที่ขั้วโลก
เนื่องจากแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นบริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุด ดังนั้นการหายไปของป่าในเขตร้อนชื้น จึงทำให้การสะท้อนรังสีของโลกผิดปกติไป ซึ่งจะสัมพันธ์กับความผิดปกติของปริมาณน้ำฝนที่ตก
(8) ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์
การเพิ่มอุณหภูมิของอากาศทำให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อากาศที่ร้อนและมีความชื้นสูงจะบั่นทอนสุขภาพในการทำงานของมนุษย์ ก่อให้เกิดความกดดันต่อสภาพร่างกายและจิตใจ ร่างกายจึงมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลงจนง่ายต่อการรับเชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ในอากาศ โดยอุณหภูมิและความชื้นที่สูงเกินไปอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทันจนเกิดการเสียชีวิตได้ เช่นกรณีคลื่นความร้อน (
heat wave) ที่แผ่ขยายสู่ เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1995 ทำให้มีผู้สูงอายุ เด็กและคนป่วย เสียชีวิต 739 คนภายในเวลา 1 สัปดาห์ เมื่ออุณหภูมิสูง 37OC ที่ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 90 และในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ 2003 คลื่นความร้อนได้ทำให้คนยุโรปเสียชีวิตประมาณ 35,000 คน โดยเฉพาะที่ฝรั่งเศสแห่งเดียวมีคนเสียชีวิตถึง 14,802 คน โดยอากาศอุ่นชื้นที่รุนแรงของคลื่นความร้อน ทำให้ร่างกายของมนุษย์สูญเสียน้ำอย่างมาก จนจิตใจเกิดความสับสน มีปัญหาต่อระบบการหายใจ อากาศร้อนทำให้เลือดสูญเสียความสามารถในการจับตัวเป็นก้อน เกิดเลือดออกตามทวารและอวัยวะต่างๆเช่น หู ตา จมูก ปากเป็นต้น

แผ่นดินทะเลทรายและสารพิษ
        จากรายงานเอกสารขององค์การสหประชาชาติ แผ่นดินบนผิวโลกที่มีโอกาสเปลี่ยนเป็นทะเลทรายรวมเนื้อที่ 3,500 ล้านเฮกตาร์( 1 เฮกตาร์ = 6.25 ไร่ )เทียบเนื้อที่ขนาดทวีปอเมริกาและพื้นที่ประมาณ 6 ล้านเฮกตาร์ในทุกๆ ปี อยู่ในสภาพวิกฤตจากการเปลี่ยนไปเป็นทะเลทราย

มหาสมุทรที่ปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและคราบน้ำมัน
       แม่น้ำทุกสายต่างไหลลงสู่ทะเลและมหาสมุทร ปัจจุบันแม่น้ำหลายสายเน่าเสียเพนราะไหลผ่านพื้นที่ชุมชน ,อุตสาหกรรมรวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม ซึงเป็นแหล่งสกปรกและสารพิษ คราบน้ำมันที่เกิดจากการชนกันของเรือบรรทุกน้ำมัน การล้างหรือการใช้น้ำมันบริเวณชายฝั่ง รวมทั้งเกิดจากสงคราม เป็น
สาเหตสำคัญที่จะปนเปื้อนด้วยสิ่งสกปรกและคราบน้ำมัน